อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets: ROA) คืออัตราส่วนที่เทียบความสามารถในการทำกำไร กับสินทรัพย์ที่มี โดยค่านี้จะบอกเราว่า ทรัพย์สินที่มี สามารถแปลสภาพเป็นกำไรได้เท่าไร
เช่น ถ้ามีทรัพย์สินมูลค่า 100 บาท สามารถสร้างกำไรได้กี่บาท?
เพราะฉะนั้น ROA ยิ่งมาก จะยิ่งดี เพราะแสดงถึงความสามารถในการใช้ทรัพย์สินที่มีไปต่อยอดทางธุรกิจ แสดงถึงความเก่งกาจของกิจการ (แต่ ROA สูงเกินไปอาจจะไม่ดี โปรดอ่านในข้อควรระวังด้านล่าง)
คำนวณได้จาก
EBIT (Earnings Before Interest Tax) คือ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี
สินทรัพย์รวม = หนี้สิน + ส่วนผู้ถือหุ้น
บริษัทแห่งนึง มีสินทรัพย์รวมอยู่ 1,000,000 บาท และมีกำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ (EBIT) เท่ากับ 200,000 บาท
ROA จะเท่ากับ 200,000 * 100 / 1,000,000 = 20%
ตีความได้ว่า สินทรัพย์รวมทุก 100 บาท จะมีความสามารถในการทำกำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีอยู่ที่ 20 บาท
การที่ ROA นั้นสูงมากๆก็สามารถมองได้ว่า คู่แข่งสามารถเข้ามาได้ง่ายเช่นกัน เพราะว่าใช้เงินลงทุนในสินทรัพย์ไม่มาก ก็สามารถสร้างผลตอบแทนสูงๆได้แล้ว ยกเว้นแต่ว่าธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจเฉพาะที่ลอกเลียนแบบยาก เช่น ธุรกิจสัมปทาน
ไม่ควรนำ ROA ไปใช้เปรียบเทียบกับสองธุรกิจที่แตกต่างกัน เพราะความจำเป็นของการใช้ทรัพย์สินจะต่างกัน เช่น บริษัทด้านเทคโนโลยีจะมีสินทรัพย์ น้อยกว่าธุรกิจกลุ่มผลิตสินค้า ที่ต้องลงทุนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้บริษัทด้านเทคโนโลยีจะมี ROA สูงกว่าเพราะมีสินทรัพย์น้อยกว่า
© 2024 Investich. All Rights Reserved.